วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โปรแกรมการตัดต่อวิดีโอ(โปรแกรม Corel Video Studio Pro X2)

โปรแกรมการตัดต่อวิดีโอ(โปรแกรม Corel Video Studio Pro X2)


โปรแกรม Corel Video Studio Pro X2 เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป แม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน โปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่างๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ แทรกดนตรีประกอบ แทรกคำบรรยาย ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลงเทป, VCD, DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ
โปรแกรม Corel Video Studio มีการทำงานเป็นขั้นตอนที่ง่าย ตั้งแต่จับภาพ ตัดต่อไปจนถึงเขียนลงแผ่น นอกจากนี้แล้ว โปรแกรมยังมีเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ อีกมากมาย ไตเติ้ลสำเร็จรูปแบบมืออาชีพ รวมทั้งยังมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างซาวด์แทร็คอย่างง่ายๆ อีกด้วย
ในการสร้างวีดีโอนั้น เริ่มแรกจับภาพวีดีโอจากกล้องหรือว่าดึงไฟล์วีดีโอจากแผ่น VCD/DVD เข้ามาจากนั้นก็ตัดแต่งวีดีโอที่จับภาพมา เรียงลำดับเหตุการณ์ ใส่ทรานสิชั่น (Transtion - เอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ระหว่างคลิปวีดีโอ ทำให้การเปลี่ยนคลิปวีดีโอจากคลิปหนึ่งไปยังอีกคลิปหนึ่งน่าดูยิ่งขึ้น) ทำภาพซ้อนภาพ ใส่ไตติ้ล ใส่คำบรรยาย แทรกดนตรีประกอบ ซึ่งส่วนต่างๆ เหล่านี้จะแยกแทร็คกัน การทำงานในแต่ละแทร็คจะไม่มีผลกระทบกับกับแทร็คอื่นๆ เมื่อทำเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเขียนวีดีโอลงแผ่น
การตัดต่อใน Corel Video Studio นั้น จะสร้างเป็นไฟล์ Project ขึ้นมา (.VSP) ซึ่งไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ หากว่าทำงานยังไม่เสร็จก็สามารถเปิดเพื่อทำงานต่อในภายหลังได้ ไฟล์นี้จะมีขนาดเล็ก การตัดต่อวีดีโอนี้ แม้จะตัดต่ออย่างไรในวีดีโอ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อไฟล์ต้นฉบับ ข้อมูลการตัดต่อต่างๆ จะบันทึกอยู่ในไฟล์ project ทั้งหมด แต่เมื่อมีการสร้างวีดีโอที่ได้จากการตัดต่อ โปรแกรมอ่านข้อมูลจากต้นฉบับตามข้อมูลที่อ้างอิงในไฟล์ project นี้
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์
ในปัจจุบันนี้มีระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่นิยมใช้ในแถบภูมิภาคต่างๆ คือ
          1.ระบบ NTSC (National Television Standards Committee) เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา
เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น
          2.ระบบ PAL (Phase Alternation Line) เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
          3.ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memoire("memory sequential")) เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดยDr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย โรมาเนีย และรัสเซีย* เป็นต้น
*ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
คุณภาพของระบบโทรทัศน์สีในระบบต่างๆ
          1.ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีข้อดี คือ สามารถมองเห็นภาพได้ 30 ภาพ/วินาที (ระบบอื่นมองเห็นได้ 25 ภาพ/วินาที) ทำให้การสั่นไหวของภาพลดน้อยลง และเนื่องจากสัญญาณภาพใช้ความกว้างของคลื่นสัญญาณน้อย ทำให้ภาพถูกรบกวนน้อย ภาพที่ได้รับจึงมีความคมชัดมากขึ้น ส่วนข้อเสีย นั้นเกิดจากการที่เส้นสแกนภาพมีจำนวนน้อย หากใช้จอภาพเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่รับภาพจะทำให้รายละเอียดภาพมี น้อย ดังนั้นภาพจึงขาดความคมชัดและถ้าใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำ สัญญาณสีที่ความถี่ 3.58 MHz จะเกิดการรบกวนสัญญาณขาว-ดำ ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของสี วิธีแก้ไข ต้องปรับแก้
ที่เครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อให้ได้ภาพเป็นธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้รับชมปรับแต่งสีให้ภาพได้ดี
           2.ระบบ PAL เป็นระบบที่ให้รายละเอียดของภาพสูง ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี ภาพที่ได้เป็นธรรมชาติ ความเข้มของภาพสูง (High Contrast) ดีกว่าระบบ NTSC แต่มีข้อเสียคือภาพที่มองเห็นมีความสั่นไหวมากกว่าระบบ NTSC เนื่องจากภาพที่มองเห็น 25ภาพ/วินาทีถูกรบกวนสัญญาณ ภาพสูง สาเหตุเพราะมีความกว้างของสัญญาณภาพมากกว่า (Higher Bandwidth)ระบบ NTSCจุดอิ่มตัวความสว่างของสีน้อย(reduce the color saturation)ทำให้เห็นความสว่างของสีน้อยลง
          3.ระบบ SECAM เป็นระบบที่ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี รายละเอียดของภาพมีคุณภาพสูงเทียบเท่ากันระบบ PAL ข้อเสีย ภาพจะมีการสั่นไหวเหมือนระบบ PALส่วนการตัดต่อภาพในระบบนี้ไม่สามารถทำได้ ซึ่งในการผลิตรายการโทรทัศน์ส่วนมากใช้ระบบ PAL และเมื่อผลิตเสร็จแล้วจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นระบบ SECAM แล้วจึงส่งออกอากาศและเนื่องจากความกว้างของคลื่นสัญญาณมีน้อยจึงทำให้เกิดคลื่นความถี่สัญญาณสีรบกวนภาพ (Patterning Effects) จึงทำให้ภาพเกิดมีสีรบกวนในขณะรับชมรายการได้
ระบบโทรทัศน์สีที่ใช้งานทั่วโลก ในระบบอะนาล็อกยังมีการแบ่งย่อยจากระบบใหญ่ๆทั้ง ระบบดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของกระแสไฟฟ้าที่แต่ละประเทศใช้งาน และความเหมาะสม กับประเทศที่ใช้งานกำหนดโดยสหภาพวิทยุโทรคมนาคม (ITU) เช่นกระแสไฟฟ้า 60 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 60 Hz และกระแสไฟฟ้า 50 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สีField frequency 50 Hz ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้รบกวนสัญญาณภาพ
          ระบบสัญญาณโทรทัศน์สีที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีคุณภาพสัญญาณที่ดีไม่พบข้อเสีย ดังนั้นในการพิจารณาใช้งานระบบใดระบบหนึ่งก็อาจมีสาเหตุ มาจากเหตุผลอื่นๆ เช่น เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนในการผลิต และการใช้เครื่องรับโทรทัศน์เป็นจำนวนมากแล้วถ้าหากจะเปลี่ยนระบบอาจต้องลง ทุนสูง เหตุผลทางด้านการเมือง อาจได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจให้ใช้ระบบใดระบบหนึ่ง
          บทสรุป สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลักการออกแบบคล้ายกัน คือ การส่งโทรทัศน์สีจะต้องทำให้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำและเครื่องรับโทรทัศน์ สีรับสัญญาณได้ โดยสัญญาณที่ส่งออกอากาศจะต้องเป็นสัญญาณเดียวกัน ส่วนคุณภาพของภาพโทรทัศน์นั้นขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางเทคนิคการกำหนดภาพที่ เหมาะสมมี ระบบหลักคือ 25 ภาพ/วินาที และ 30ภาพ/วินาที สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบอะนาล็อกนี้จะถูกเปลี่ยนเข้ารหัสเป็นระบบดิจิทัลก่อนที่จะส่งเป็นสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
 คุณสมบัติของไฟล์วิดีโอ และภาพยนตร์
1. Frame Rate คือความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหวต่อหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที โดยอัตราการเคลื่อนไหวที่จะเป็นภาพยนตร์ได้นั้นควรมีค่าขั้นต่ำตั้งแต่ 7-10 fps ค่าเฟรมเรท ขึ้นอยู่กับระบบของภาพยนต์ และระบบวิดีโอต่าง ๆ ดังนี้
ระบบต่าง ๆ
Frame Rate ( fps)

ฟิมล์มภาพยนต์ทั่วไป
24

วิดีโอ ระบบ NTSC
29.79

วิดีโอ ระบบ PALและ SECAM
25

CD-ROM และ เว็บไซต์
15

งาน 3D Animation
30 (non-Drop Frame)

 รูปแบบของไฟล์ วิดีโอ ประเภทต่าง ๆ  ไฟล์วิดีโอมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่รู้จักกันดีมีดังนี้
ประเภท
คุณสมบัติ
1. AVI
เป็นไฟล์มาตรฐานของไฟล์ วิดีโอ ทั่วไป มีความคมชัดสูง แต่จุดด้อยคือ ไฟล์มีขนาดใหญ่(ความจุสูง)
2. MPEG
คือรูปแบบของไฟล์ วิดีโอ ที่ถูกบีบอัด แบบหนึ่ง ได้รับความนิยมมาก ข้อดีคือไฟล์มีขนาดเล็ก เลือกความคมชัดได้หลายแบบ เช่น

MPEG -1
เป็นไฟล์ที่นิยมทำใน วีซีดี เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด

MPEG -2
เป็นไฟล์ที่นิยมทำ ดีวีดี เป็นไฟล์ขนาดใหญ่มีความคมชัดสูง เมื่อเทียบกับตระกูล เอ็มเพ็ก ด้วยกัน

MPEG -4
เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยม มีคุณภาพเทียบเคียง ดีวีดี แต่มีขนาดเล็ก เหมาะกับการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
3. WMV
เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐาน บนระบบ Windows นิยมเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
4. RM
เป็นรูปแบบของไฟล์โปรแกรม Real One Player นิยมเผยแพร่กันบนอินเทอร์เน็ต
5. MOV
เป็นรูปแบบของไฟล์ โปรแกรม QuickTime ผลิตเพื่อใช้กับเครื่อง Apple แต่เปิดบนระบบWindows ได้เช่นกัน
6. FLV
เป็นไฟล์รูปแบบ Flash Video นิยมเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตเนื่องจากมีไฟล์ขนาดเล็ก

ที่มา:http://www.kroojan.com/corel/page1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น